กิจกรรม

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานผ้าไตรพระราชทาน และกล่องเพลิงพระราชทาน ในพิธีบำเพ็ญกุศลออกเมรุพระราชทานเพลิงศพอดีตเจ้าคณะจังหวัดน่าน อดีตเจ้าอาวาสวัดภูมินทร์ พิธีบำเพ็ญกุศลออกเมรุพระราชทานเพลิงศพพระเทพนันทาจารย์ (กานต์ สุปุญโญ) ป.ธ.7,ว.ท.พธ.ม.อดีตเจ้าคณะจังหวัดน่าน อดีตเจ้าอาวาสวัดภูมินทร์ จัดขึ้น ณ วัดภูมินทร์ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานผ้าไตรพระราชทานจำนวน 10 ไตร และกล่องเพลิงพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานผ้าไตรพระราชทาน จำนวน 5 ไตร โดยในวันนี้(วันที่ 20 มีนาคม 2564) เวลา 09.00 น. พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ แสดงพระธรรมเทศนา 1 กัณฑ์ โดยพระพรหมบัณฑิต กรรมการมหาเถรสมาคม วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร กรุงเทพมหานคร จากนั้นเวลา 10.00 น. พลตรีกัลย์สรรค์ จันทรเสน ผู้อัญเชิญผ้าไตรพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทอดผ้าไตรพระราชทาน จำนวน 10 ไตร เวลา 13.30 น.พิธีทอดผ้าไตร เวลา 15.30 น. เจ้าหน้าที่อัญเชิญกล่องเพลิงพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และผ้าไตรพระราชทานของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อัญเชิญขึ้นสู่ที่ตั้งบนเมรุ จากนั้นนายนิพันธ์ บุญหลวง ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน ประธานในพิธี ทอดผ้าไตรพระราชทาน ของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จำนวน 5 ไตร ประกอบพิธีวางเครื่องขอขมา และประกอบพิธีพระราชเพลิงศพ คณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชนวางดอกไม้จันทน์หน้าเมรุ โดยจะมีพิธีประชุมเพลิง ในวันนี้เวลา 20.30 น. สำหรับประวัติ พระเทพนันทาจารย์ (กานต์ สุปญฺโญ ป.ธ.7) เดิมชื่อกานต์ อุทธิยานนท์ ภูมิลำเนา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน เกิดเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2483 สิริอายุรวม 80 พรรษา บรรพชาเมื่อวันที่ 21 เดือน พฤษภาคม 2497 อุปสมบทเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2504 ณ พัทธสีมาวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม แขวงและเขตดุสิต โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตติโสภณมหาเถระ) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ วุฒิทางการศึกษา นักธรรมชั้นเอก เปรียญธรรม ประโยค 7 เกียรติคุณ ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2513 เป็นเปรียญธรรม 7 ประโยค พ.ศ.2524 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญที่ พระภัทรสารมุนี พ.ศ.2548 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามที่ พระราชคุณาภรณ์ และ พ.ศ.2562 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามที่ พระเทพนันทาจารย์

พระอาจารย์จิรวัฒน์ อัตตรักโข (ลูกศิษย์ท่านหลวงปู่ฝั้น อาจาโร) เจ้าอาวาส วัดป่าไชยชุมพล ต. สะเดาะพง อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์...

พระครูเกษมวรกิจ(หลวงพ่อวิชัย เขมิโย )วัดถ้ำผาจม อ.แม่สาย จ.เชียงราย งานทองเหลืองหล่อรูปเหมือนองค์พ่อแม่ครูบาอาจารย์ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่ดุลย์ อตุโล หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน ณ วัดป่าบางแสม บางประกง ฉะเชิงเทรา อนุโมทนาสาธุ

หลวงปู่สวาท ปัญญาธโร วัดโป่งจันทร์ ต.คลองพูล อ.คิชฌกูฏ จ.จันทบุรี

พระภัทรสีลคุณ (หลวงปู่เจริญ ราหุโล) วัดป่าพระธาตุเขาน้อย จังหวัดราชบุรี

พระครูสมุห์สุชิน ปริปุณโณ เจ้าอาวาสวัดธรรมสถิต ตำบลสำนักทอง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง โทร 081-454-8658 ประวัติพระครูสมุห์สุชิน ปริปุณโณ วัดธรรมสถิต ม.3 ต.สำนักทอง อ.เมือง จ.ระยอง เดิมชื่อ สุชิน นามสกุล ศรีสลวย เกิดเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 ที่บ้านคลอง 17 ม.9 ต.ดอนฉิมพลี อ.บางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา บิดาชื่อนายศิริ ศรีสลวย มารดาชื่อ นางทวี ศรีสลวย อาชีพทำนา วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2515 บรรพชา-อุปสมบท ณ วัดรามัญ คลอง17 ตำบลดอนฉิมพลี อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิิงเทรา โดยมีพระครูโกวิทย์ ธรรมคุณ วัดรามัญเป็นอุปัชฌาย์ พระครูสุนทร บรรเจิด วัดตรีทศเทพ กรุงเทพมหานคร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระวินัยมุนี วัดมกุฏกษัตริยาราม กรุงเทพมหานคร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ท่านออกปฏิบัติธรรมภาวนาอยู่ตามป่าช้าตามเขา จนกระทั่งเดินทางมาพบ ท่านพ่อเฟื่อง โชติโก พ.ศ. 2519 ท่านมาอยู่กับท่านพ่อเฟื่อง โชติโก วัดธรรมสถิต เพื่อดูแลช่วยเหลือการสร้างพระเจดีย์ และสร้างพระพุทธรูปปรางนาคปรกหน้าตักกว้าง 6 เมตร สูง 27 เมตร หนัก 700 ตัน เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กใหญ่ที่สุดในโลก พ.ศ. 2522 สร้างเจดีย์และพระพุทธรูปเสร็จ พ.ศ. 2529 ท่านเดินทางไปที่กรุงเทพฯ เพื่อรับศพของท่านพ่อเฟื่องโชติโก ที่นำมาจากฮ่องกง กลับมาเมืองไทย แล้วนำศพท่านพ่อเฟื่อง โชติโก ไปให้ศิษยานุศิษย์ วัดอโศการามสวดพระอภิธรรมและคารวะเป็นเวลาเกือบ 1 ปี จึงนำกลับมาบำเพ็บกุศลที่วัดธรรมสถิต ต่ออีก 7 วันก็ครบ 1 ปีเต็มแล้วบรรจุไว้ที่วัดธรรมสถิตจนถึงปัจจุบัน พระอาจารย์สุชิน เดินธุดงค์ไปชายแดน อ.แม่สอด จ.ตาก อยู่กับชาวเขาเผ่าต่างๆเป็นเวลาประมาณ 5 ปี พ.ศ. 2536 หลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท สั่งให้พระอาจารย์สุชินมาสร้างกุฏิใหม่แทนหลังเก่าซึ่งผุพัง และสั่งให้สร้างพระเจดีย์ให้ด้วยจนเสร็จ กลับมาจำพรรษา วัดธรรมสถิต 3 ปีได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดธรรมสถิตแทนท่านพ่อเฟื่อง โชติโก เมื่อปี พ.ศ. 2539 หลักธรรมคำสอน ให้พิจารณาตามหลักอานาปานสติ ดูลมหายใจเข้าออก ดูธาตุทั้ง 6 มีดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศธาตุ วิญญาณธาตุ ให้รวมเป็นหนึ่งเดี่ยวจะทำให้เกิดพลัง เมื่อมีพลังแล้วใช้จิตเพ่งจิต จนเกิดความรู้ขึ้นในกายและในจิตเต็มบริบูรณ์ เกิดอำนาจพลังแห่งปัญญา รู้ตามสภาวะแห่งความเป็นจริงเห็นความเป็นทุกข์ขัง อนิจจัง อนัตตา เรียกว่าไตรลักษณ์ เมื่อรู้แล้วให้ปล่อยความรู้ทั้งหมดทั้งทางโลก และทางธรรม ไม่ให้เหลือแม้กระทั่งปัจจุบันมุ่งเข้าสู่แดนพระนิพพานได้อย่างแน่นอน

วัดสังฆทาน นนทบุรี

วัดสังฆทาน จ.นนทบุรี Wat Sanghathan (คลิปฉบับเต็ม) full เที่ยวไทย YPT วัด" อาจเป็นสถานที่ห่างไกลยามมีสุข แต่ปลายทางชีวิตของคนพุทธทุกคน คือประตูแห่งการจากลาของร่างกาย เข้าวัดสร้างบุญเมื่อยังมีลมหายใจอยู่ เพราะเราไม่รู้ว่าชีวิตจะหมดลงเมื่อใด

วัดสังฆทาน จังหวัดนนทบุรี ถือเป็นวัดป่ากลางเมือง ที่ร่มรื่น ยึดมั่นแนวปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง จนเป็นที่ศรัทธาของสาธุชนอย่างมาก

งานบุญหล่อปูนพระพุทธมุณีศรีสังข์วาลย์และทอดผ้าป่าบวชเนกขัมมะ ณ วัดป่าน้ำตกเขมโก สุพรรณบุรี 6.12.2563

วัดป่าปทุมรัฐ งานหล่อพระประธาน

พิธีพระราชทานเพลิงศพคุณพ่อสุชาติ สงวนสินธ์ โยมบิดาของพระอาจารย์จิรวัฒน์ อัตตรักโข เจ้าอาวาสวัดป่าไชยชุมพล ต.สะเดาะพงษ์ อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ ณ.เมรุชั่วคราววัดป่าไชยชุมพล วันที่ 29 พฤศจิกายน 2563

หลวงปู่คำบ่อ ฐิตปัญโญ วัดใหม่บ้านตาล บ้านตาล ตำบลโคกสี อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ************ ในวันเสาร์ที่ 14 และวันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน 2563 มุทิตาจิตฉลองอายุวัฒนมงคล 90 ปี หลวงปู่คำบ่อ ฐิตปัญโญ ณ วัดใหม่บ้านตาล สกลนคร รายนามพระเถระที่นิมนต์มีดังนี้ 1. หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม วัดป้าสีห์พนมประชาคม สกลนคร พรรษา 70 2. พระครูวีรธรรมคุณ (อินตอง สุภวโร) วัดป่าวีระธรรม สกลนคร พรรษา 63 3. พระราชสุเมธี (เหลี่ยม/กิตติกร สุจิณโณ) วัดภูตูมวนาราม เลย พรรษา 60 4. พระครูอุดมชัยคณารักษ์ (ศรี สิริธโร) วัดป่าโนนทองอินทร์ อุดรธานี พรรษา 60 5. หลวงพ่อทองคำ กาญจนวัณโณ วัดถ้ำบูชา บึงกาฬ พรรษา 60 6. พระครูโสภณสมณกิจ (บุญจันทร์-ดำ สีลคุโณ) วัดป่ามณีศรีโคตมวงษ์ อุดรธานี พรรษา 59 7. หลวงพ่อเสถียร คุณวโร วัดถ้ำพระภูวัว บึงกาฬ พรรษา 59 8. พระครูอุดมญาณโสภณ (หลอ นาถกโร) วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม (ถ้ำพวง) สกลนคร พรรษา 58 9. พระครูพันธสมณวัฒน์ (ทองสุข ฐิตปุญโญ) วัดป่าวุฑฒาราม หนองบัวลำภู พรรษา 57 10. พระครูวิโรจน์ธรรมาจารย์ (บุญเรือง กิตฺตปุญโญ) วัดป่าอริยวงศาวาส ราชบุรี พรรษา 57 11. พระครูกิตติปัญญาคุณ (สวาท ปัญญาธโร) วัดโป่งจันทร์ จันทบุรี พรรษา 56 12. หลวงพ่ออินทร์ถวาย สนตุสฺสโก วัดป่านาคำน้อย อุดรธานี พรรษา 55 13. พระวิมลศีลาจารย์ (อำนวย ภูริสุนทโร) วัดบรมนิวาสวรวิหาร กรุงเทพฯ พรรษา 55 14. หลวงพ่อสมศรี อัตตสิริ วัดป่าเวฬุวนาราม เลย พรรษา 55 15. พระมหาสามเรือน ปุญเญสโก วัดอโศการาม สมุทรปราการ พรรษา 55 16. หลวงพ่อคลาด ครุธัมโม วัดป่าบ้านใหม่ อุดรธานี พรรษา 53 17. พระครูบริหารสมาธิคุณ (คำสด อรุโณ) วัดป่าบ้านเพิ่ม อุดรธานี พรรษา 53 18. พระครูกันตสีลาภิยุต (เคน กันฺตสีโล) วัดป่าชุมชัยแสงพันธ์ สกลนคร พรรษา 52 19. หลวงพ่อสุธรรม สุธัมโม วัดป่าหนองไผ่ สกลนคร พรรษา 51 20. พระครูโสภณธรรมสุนทร (เลื่อน โอภาโส) วัดพระธาตุฝุ่น สกลนคร พรรษา 51 21. พระครูปัญญาวราจารย์ (บุญทัน ฐิตสีโล) วัดเขาเจริญธรรม เพชรบูรณ์ พรรษา 51 22. หลวงพ่อลี ถาวโร วัดป่าหนองทัพเรือ พิษณุโลก พรรษา 50 23. พระครูเมตตากิตติคุณ (สมหมาย อัตตมโน) วัดป่าสันติกาวาส อุดรธานี พรรษา 50 24. พระครูยุตตธรรมานุศาสน์ (เติมศักดิ์ ยุตตธัมโม) วัดป่าดงพระ สกลนคร พรรษา 50 25. หลวงตาแยง สุขกาโม วัดเจติยาคีรีวิหาร (วัดภูทอก) บึงกาฬ พรรษา 50 26. พระครูสมุห์สุชิน ปริปุณโณ วัดธรรมสถิต ระยอง พรรษา 49 27. พระครูสุจิณณานุวัตร (หนูพิน ฐานุตตโม) วัดป่าโนนสีทอง อุดรธานี พรรษา 49 28. พระครูนิวิฐสมณวัตร (นงค์ ปคุโณ) วัดอุดมคงคาคีรีเขต ขอนแก่น พรรษา 48 29. พระครูวัชรธรรมจารย์ (จิรวัฒน์ อัตตรักโข) วัดป่าไชยชุมพล เพชรบูรณ์ พรรษา 48 30. หลวงพ่อจิตจำลอง ธนปาโล วัดป่าบ้านบ่อร้าง สกลนคร พรรษา 48 31. พระครูวิศาลศาสนกิจ (สนิท สิรสนิทโท) วัดป่าคีรีเขต จันทบุรี พรรษา 47 32. พระครูสุวิมลภาวนาคุณ (จื่อ พันธมุตโต) วัดเขาตะเงาะอุดมพร ชัยภูมิ พรรษา 46 33. หลวงพ่อบุญมี ธัมมรโต วัดป่าศรัทธาถวาย (วัดถ้ำเต่า) อุดรธานี พรรษา 45 34. พระครูสังฆรักษ์อ่อนสี ธัมมโชโต วัดสิริกมลาวาส กรุงเทพฯ พรรษา 45 35. หลวงพ่อสมเกียรติ ชิตมาโร วัดป่าถ้ำพระเทพนิมิตร อุดรธานี พรรษา 45 36. พระครูกิติธรรมสาร (ก่อเกียรติ ธัมมิโก) วัดพิชัยพัฒนาราม (วัดป่าเขาน้อยสามผ่าน) จันทบุรี พรรษา 44 37. พระวิชัยมุนี (ไพฑูรย์ เมตฺตจิตโต) วัดป่าสำราญนิเวศ อำนาจเจริญ พรรษา 44 38. พระครูโสภณธรรมคุณาภรณ์ (ประเสริฐ สิริคุตฺโต) วัดป่าเวฬุวันอรัญญวาสี อุบลราชธานี พรรษา 43 39. หลวงพ่อชัยนาท อโสโก วัดป่าเขาผา เพชรบูรณ์ พรรษา 43 40. พระครูปลัดไพรินทร์ สิริวัฑฺฒโน วัดสังฆทาน นนทบุรี พรรษา 42 41. พระครูโชติคุณาภรณ์ (ประครอง โชติกโร) วัดดอนม่วย สกลนคร พรรษา 41 42. พระอาจารย์ศรีคูณ จิรธัมโม วัดป่าเขาลม ชัยภูมิ พรรษา 36 43. พระครูปลัดสุวัฒนปัญญาคุณ (มงคล กิตฺติมงฺคโล) วัดราชผาติการาม วรวิหาร กรุงเทพฯ พรรษา 35 44. พระอาจารย์สุวัฒน์ มหคฺโม วัดสิริกมลาวาส กรุงเทพฯ พรรษา 35 45. พระอาจารย์ศักดิ์ชาย อาโล วัดอโศการาม สมุทรปราการ พรรษา 25 46. พระมหาเกรียงศักดิ์ ฐิปตโสโต วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ พรรษา 25 47. พระอาจารย์อนันท์ กิจจากาโร วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร กรุงเทพฯ พรรษา 25 สามารถร่วมบุญได้ที่ธนาคารกรุงเทพ/สาขาสว่างแดนดิน ชื่อบัญชี พระอาจารย์คำบ่อ ฐิตปัญโญ บัญชีเลขที่ 413-0-68234-9 สอบถามเพิ่มเติมและจองโรงทานได้ที่คุณหม่ำ โทร 065-951-6990 และ 081-714-5482 ขออนุโมทนาบุญกับผู้มีจิตเป็นกุศล,ผู้มีส่วนร่วมในการจัดงานและกัลยาณมิตรทุกท่าน ขอให้ทุกท่านดังกล่าวมานี้เจริญพร้อมด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฎิภาณธนสารสมบัติตลอดกาลนานเทอญ สาธุๆๆค่ะ

รับชมได้ที่ จานดาวเทียม ระบบ KU-BAND PSI-119 facebook : วัดสังฆทาน หลวงพ่อสนอง กตปุญโญ https://www.facebook.com/Watsanghathan www.watsanghathan.com ร่วมบุญทุกบุญวัดสังฆทานได้ที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาคริสคัล ราชพฤกษ์ บัญชีวัดสังฆทาน เลขที่ 408-447470-4 ขออนุโมทนาบุญ สาธุ สาธุ สาธุ

สถานีวิทยุสังฆทานธรรม วัดสังฆทาน ฟังธรรม 24 ชั่วโมง

พิธีพระราชทานเพลิงพระครูสังวรวีรธรรม (หลวงปู่สุพีร์ สุสญฺญโม ศิษย์ หลวงปู่มี ญาณมุนี วัดป่าสูงเนิน วัดถ้ำซับมืด บ้านซับมืด เลขที่ ๒ หมู่ที่ ๒๐ บ้านซับมืด ต.จันทึก อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา)

วัดศรีโนนสัง ต.โนนสัง อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู

พระธรรมพุทธิมงคล วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร

วัดสังฆทาน เพลงแผ่เมตตา แคท รัตกาล

พระภาวนาวิสุทธิญาณเถร หรือ หลวงปู่แบน ธนากโร เป็นพระเถระสายพระป่าในประเทศไทย ผู้เป็นสหธรรมิกผู้ใกล้ชิดกับพระธรรมวิสุทธิมงคล และได้รับการวางใจจากหลวงตามหาบัว ให้เป็นเสาหลักของคณะพระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น วิกิพีเดีย เกิดเมื่อ: 2 กรกฎาคม 2471 (อายุ 91 ปี), อำเภอเมืองจันทบุรี วัด: วัดดอยธรรมเจดีย์ มรณภาพ: 16 มกราคม พ.ศ. 2563 เกิด: 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2471 พรรษา: 72 สังกัด: ธรรมยุติกนิกาย อุปสมบท: 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2491

กุสินารา หรือ กุศินคร (ฮินดี: कुशीनगर, อูรดู: کُشی نگر‎, อังกฤษ: Kusinaga, Kushinagar) เป็นที่ตั้งของสังเวชนียสถานแห่งที่ 4 ในสมัยพุทธกาลเป็นเมืองเอกหนึ่งในสองของแคว้นมัลละ อยู่ตรงข้ามฝั่งแม่น้ำคู่กับเมือง ปาวา เป็นที่ตั้งของ สาลวโนทยาน หรือป่าไม้สาละที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานและเป็นสถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า กุสินาราจัดเป็นพุทธสังเวชนียสถานที่สำคัญแห่งที่ 4 ใน 4 สังเวชนียสถานของชาวพุทธ เป็นสถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพานแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งอยู่ที่ตำบลมถากัวร์ อำเภอกุสินคร หรือกาเซีย หรือกาสยา (Kushinaga; Kasia; Kasaya) ในเขตจังหวัดเทวริยา (Devria; Devriya) รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย สาลวโนทยาน สถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพาน มีชื่อเรียกในท้องถิ่นว่า มาถากุนวะระกาโกฎ (Matha-Kunwar-Ka-Kot) ซึ่งแปลว่า ตำบลเจ้าชายสิ้นชีพ ปรากฏตามคัมภีร์ว่า เมืองนี้เคยเป็นที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้าพระนามว่าผุสสะ เป็นที่เกิดบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์หลายครั้ง เคยเป็นราชธานีนามว่ากุสาวดี ของพระเจ้ามหาสุทัสสนจักรพรรดิ์[1] ปัจจุบันกุสินารา มีอนุสรณ์สถานที่สำคัญคือสถูปใหญ่ซึ่งพระเจ้าอโศกมหาราชสร้างไว้และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ วิหารปรินิพพานซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางปรินิพพานอยู่ภายในและมีซากศาสนสถานโบราณโดยรอบมากมาย

พุทธคยา เป็นพุทธสังเวชนียสถานที่สำคัญที่สุด 1 ใน 4 สังเวชนียสถาน และถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของชาวพุทธทั่วโลก เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของพระพุทธศาสนา เป็นสถานที่เจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณเป็นสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นเวลากว่าสองพันห้าร้อยปีที่สถานที่แห่งนี้เป็นศูนย์รวมของจุดหมายแสวงบุญของชาวพุทธผู้มีศรัทธาทั่วโลก ปัจจุบันพุทธคยามีชื่อเรียกอีกชื่อว่า วัดมหาโพธิ์ Mahabodhi Temple ตั้งอยู่ที่จังหวัดคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ห่างจากริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา 350 เมตร อดีตตำบลที่ตั้งพุทธคยาชื่อว่า อุรุเวลาเสนานิคม ปัจจุบันเพี้ยนมาเป็น อุเรล ในปัจจุบันพุทธคยาอยู่ในความดูแลของคณะกรรมการร่วม พุทธ-ฮินดู2 และพุทธคยาได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโก UNESCO ให้เป็นมรดกโลก ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม เมื่อปี พ.ศ. 2545

ลุมพินีวัน (อักษรโรมัน: Lumbini Vana) เป็นพุทธสังเวชนียสถานที่สำคัญแห่งที่ 1 ใน 4 สังเวชนียสถานของชาวพุทธ เป็นสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ซึ่งต่อมาตรัสรู้เป็นพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งอยู่ที่อำเภอไภรวา แคว้นอูธ ประเทศเนปาล เป็นพุทธสังเวชนียสถาน 4 ตำบลเพียงแห่งเดียวที่อยู่นอกประเทศอินเดีย ลุมพินีวัน เดิมเป็นสวนป่าสาธารณะหรือวโนทยานที่ร่มรื่นเหมาะแก่การพักผ่อน ในสมัยพุทธกาลลุมพินีวันตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์กับเมืองเทวทหะ ในแคว้นสักกะ บนฝั่งแม่น้ำโรหิณี หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชได้โปรดให้สร้างเสาหินขนาดใหญ่มาปักไว้ตรงบริเวณที่ประสูติ เรียกว่า เสาอโศก ที่จารึกข้อความเป็นอักษรพราหมีว่าพระพุทธเจ้าประสูติที่ตรงนี้[1] ปัจจุบันลุมพินีวันอยู่ในเขตประเทศเนปาล ติดชายแดนประเทศอินเดียทางเหนือเมืองโคราฆปุระ ห่างจากเมืองติเลาราโกต (หรือนครกบิลพัสดุ์) ทางทิศตะวันออก 11 กิโลเมตร และห่างจากสิทธารถนคร[2] (หรือนครเทวทหะ) ทางทิศตะวันตก 11 กิโลเมตร ซึ่งถูกต้องตามตำราพระพุทธศาสนาที่กล่าวว่าลุมพินีวัน สถานที่ประสูติ ตั้งอยู่ระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์กับเมืองเทวทหะ ปัจจุบันลุมพินีวันมีเนื้อที่ประมาณ 2,000 ไร่ ทางการเรียกสถานที่นี้ว่า รุมมินเด มีสภาพเป็นชนบท มีผู้อาศัยอยู่ไม่มาก มีสิ่งปลูกสร้างเป็นพุทธสถานเพียงเล็กน้อย แต่มีวัดพุทธอยู่ในบริเวณนี้หลายวัด รวมทั้งวัดไทยลุมพินี ลุมพินีวันได้รับการยกย่องจากยูเนสโกให้เป็นแหล่งมรดกโลก ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540

เมืองพาราณสี • เมืองพาราณสี หรือ วาราณสี (Varanasi) เป็นชื่อของเมืองหลวงแคว้นกาสี ประเทศอินเดีย มีแม่น้ำคงคาอันศักดิ์สิทธิ์ไหลผ่าน มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 4,000 ปี เป็นเมืองที่ถือว่าเป็นสุทธาวาสที่สถิตแห่งศิวเทพ ถือว่าเป็นเมืองอมตะของอินเดียและเป็นที่แสวงบุญทั้งของชาวฮินดูและชาวพุทธทั่วโลก • พาราณสียังเป็นเมืองที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาในหลายด้าน คือเป็นที่เกิดของพระโพธิสัตว์หลายครั้ง พื้นที่เมืองพาราณสี มีอาณาเขตครอบคลุมถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาแก่พระปัญจวัคคีย์ ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า สารนาถ อันเป็นสังเวชนียสถานแห่งหนึ่ง • แม่น้ำคงคา • แม่น้ำคงคา เป็นแม่น้ำสายสำคัญของอินเดีย ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ของชาวฮินดู มีต้นกำเนิดทางภาคเหนือของอินเดีย บริเวณเทือกเขาหิมาลัย ไหลผ่านทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียไปทางตะวันออก และรวมกับแม่น้ำพรหมบุตรที่ประเทศบังกลาเทศ ก่อนจะไหลออกที่อ่าวเบงกอล แม่น้ำคงคามีความยาวประมาณ 2,510 กิโลเมตร • ความเชื่อเรื่องการล้างบาปในแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ • พวกพราหมณ์นิยมเชื่อถือเรื่องการอาบน้ำล้างบาป โดยเชื่อว่าแม่น้ำคงคาโดยเฉพาะที่ท่าเมืองพาราณสีนั้นศักดิ์สิทธิ์มาก สามารถล้างบาปได้ พวกพราหมณ์ จึงพากันลงอาบน้ำล้างบาปอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง คือ เช้าและเย็น ถือว่าบาปที่ทำตอนกลางวันล้างด้วยการลงอาบน้ำในตอนเย็น ส่วนบาปที่ทำตอนกลางคืนก็ล้างได้ด้วยการลงอาบน้ำในตอนเช้า ที่เชื่อกันว่ากระแสน้ำในแม่น้ำคงคาศักดิ์สิทธิ์นั้นเพราะเชื่อว่าได้ไหลผ่านเศียรของพระศิวะลงมาท่าน้ำแห่งแม่น้ำคงคาที่เมืองพาราณสี จึงเป็นบุณยสถานของชาวอินเดียทั้งปวงในสมัยนั้น • ปัจจุบันนี้ก็ยังเชื่อถือกันอยู่และยังเชื่อต่อไปอีกว่า ใครก็ตามที่ตายและได้เผาที่ท่าน้ำเมืองพาราณสีแล้วกวาดกระดูกลงแม่น้ำคงคาก็เป็นอันเชื่อได้ว่าต้องไปสวรรค์แน่นอน พวกเศรษฐีนิยมมาปลูกบ้านทิ้งไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา เมื่อป่วยหนักคิดว่าจะไม่รอดแล้วพวกญาติก็จะนำมาที่บ้านริมแม่น้ำ พอตายก็จะได้สะดวกในการเผาที่ริมแม่น้ำและกวาดกระดูกลงแม่น้ำไป • เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว พระองค์เคยทรงสนทนากับพวกพราหมณ์ผู้ไปอาบน้ำในแม่น้ำคงคาเพื่อล้างบาปเป็นใจความว่า ถ้าต้องการล้างบาปไม่จำเป็นต้องไปอาบน้ำในแม่น้ำคงคา ขอให้ชำระกาย วาจา ใจให้บริสุทธิ์ คือ เว้นทุจริตทางกาย วาจา ใจ และประพฤติสุจริตทางกาย วาจา ใจ นั่นแหละคือการอาบน้ำล้างบาปมีในศาสนาของพระองค์ ถ้าประพฤติอยู่ในสุจริตแล้ว แม้น้ำดื่ม น้ำอาบ ธรรมดาก็จะกลายเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ไปด้วย อนึ่ง ถ้าน้ำในแม่น้ำคงคาสามารถล้างบาปได้จริงและอำนวยผลให้ผู้ลงไปอาบไปสวรรค์ได้จริงแล้ว พวก กุ้ง หอย ปู ปลา ก็มีโอกาสไปสวรรค์ได้มากกว่ามนุษย์เพราะอาศัยอยู่ในแม่น้ำนั้นตลอดเวลา

สารนาถ (Sarnath) • ตั้งอยู่ : ทางเหนือของเมืองพาราณสี รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย • ธรรมเมกขสถูป หรือที่แปลว่า สถูปผู้เห็นธรรม ศาสนสถานโบราณที่ใหญ่ที่สุดในสารนาถ สันนิษฐานว่าพระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนาที่นี่สารนาถ จัดเป็นพุทธสังเวชนียสถาน 1 ใน 4 แห่งของชาวพุทธ และยังงเป็นเมืองศูนย์กลางทางศาสนาของศาสนาฮินดู • สารนาถในสมัยพุทธกาล • สารนาถในสมัยพุทธกาล เรียกกันว่า ป่าอิสิปตนมฤคทาย แปลว่า ป่าอันยกให้แก่หมู่กวาง และเป็นที่ชุมนุมฤๅษี เป็นสถานที่สงบและเป็นที่ชุมนุมของเหล่าฤษีและนักพรตต่าง ๆ ที่มาบำเพ็ญตบะและโยคะเพื่อเข้าถึงพรหมัน (ตามความเชื่อในคัมภีร์อุปนิษัทของพรามหณ์) ทำให้เหล่าปัจจวัคคีย์ที่ปลีกตัวมาจากเจ้าชายสิทธัตถะ (ที่พระองค์หันมาเสวยอาหารและถูกปัจจวัคคีย์ดูถูกว่าไม่มีทางตรัสรู้) มาบำเพ็ญตบะที่นี่ และพระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาครั้งแรกที่นี่บริเวณของป่าอิสิปตนมฤคทายวันเพื่อโปรดเหล่าปัจวัคคีย์ ก็คือ “ธรรมจักรกัปวัตนสูตร” • สารนาถ จัดเป็นพุทธสังเวชนียสถานแห่งที่ 3 เหตุที่ได้ชื่อว่าสารนาถเนื่องมาจากสถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่พระพุทธเจ้าทรงเริ่มต้นประกาศพระพุทธศาสนาเพื่อเป็นที่พึ่งแก่มหาชนทั้งหลาย ภายในอาณาบริเวณสารนาถมี ธรรมเมกขสถูป เป็นพุทธสถานขนาดใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุด เนื่องจากสันนิษฐานว่าบริเวณที่ตั้งของธรรมเมกขสถูป เป็นสถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาประกาศพระสัจจธรรมเป็นครั้งแรกที่นี่

ธรรมข้างถนน หลวงพ่ออลงกต วัดพระบาทน้ำพุ มอบหมายให้พระครูปลัดไพรินทร์ เจ้าอาวาสวัดสังฆทาน แทนระหว่างรักษาตัว ณ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สาธุ

ปทุมรัฐฟาร์ม ทำบุญ คุณ​แม่ทองเปราะ แซ่ตั้ง 90 ปี

วัดสังฆทาน วัดพระบาทน้ำพุ วัดถ้ำจุนโท ช่วยน้ำท่วม บ้านดอนกลอย ตำบลค้อเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร 2562

สถาที่ปฏิบัติธรรม มูลนิธิสวนซฺิโนไทย นครปฐม สมัครบวชเนกขัมมะได้ทุกวัน ณ วัดสังฆทาน ส่วนสวนซิโนไทย รับสมัครบวชสัปดาห์สุดท้ายของเดือน 3 วัน ศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ สาธุ

ประวัติ หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปณฺฑิโต ท่านเป็นบุตรชายของ คุณหลวงพินิจจินเภท ต้นตระกูลจันทรสมบูรณ์ มารดาชื่อ นางพินิจจินเภท (แส จันทรสมบูรณ์) เกิดวันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ 2457 หลวงปู่ได้บรรพชาอุปสมบทในปี พ.ศ. 2489 ที่ วัดศรีเมือง จ.หนองคาย โดยมี พระธรรมไตรโลกาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ปี พ.ศ. 2491 หลวงปู่ไปจำพรรษากับท่านพระอาจารย์ลี ธมมธโร วัดป่าคลองกุ้ง ปี พ.ศ. 2492 หลวงปู่ไปจำพรรษาที่วัดเจดีย์หลวงพบหลวงปู่แหวน สุจิณโณ หลวงปู่ตื้อ อจลธมโม หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ปี พ.ศ. 2493 หลวงปู่ไปจำพรรษาที่วัดป่าบ้านยางผาแด่น อุปัฏฐากรับใช้หลวงปู่ชอบอยู่หลายเดือน เริ่มจากตี 5 ถึง 5 โมงเย็น ตักน้ำ ต้มน้ำ ล้างบาตร จัดอาสนะ พอเย็นถวายอาบน้ำ ถวายขัดตัวท่าน กวาดวิหารไม้ไผ่ เตรียมจัดอาสนะให้ท่านนั่ง และออกธุดงค์ปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ ในการปฏิบัติ พระป่าต้องมีสติในทุกอิริยาบท หลวงปู่บุญฤทธิ์พูดภาษาต่างประเทศได้ถึง 6 ภาษา ได้เป็นพระธรรมทูตเดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศกว่า 30 ปี เช่น ประเทศเม็กซิโก สวีเดน สวิสเซอร์แลนด์ จีน เยอรมัน อเมริกา ออสเตรเลีย ปัจจุบันจำพรรษาที่สำนักปฏิบัติธรรมสวนทิพย์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

วัดสังฆทานร่วมกับวังช้างอยุธยา ถวายพระพร ร.10 ณ พระราชวัง ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน สาธุ7.05.2562

วัดป่าเชิงเลน ซอยจรัญสนิทวงศ์ 37 เขตบางกอกน้อย เป็นวัดป่าที่ตั้งอยู่ริมคลองชักพระ ขึ้นชื่อว่าเป็นสัปปายะสถาน โดยขับรถตามป้ายไปจนสุดซอย จากนั้นเดินไปตามทางเดิน เลียบคลองประมาณ 800 เมตร วัดป่าเชิงเลนซ่อนตัวอยู่ในใจกลางกรุงเทพมหานคร เป็นพื้นที่สีเขียวที่มีความสงบ ร่มรื่นของธรรมชาติ เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิ เพื่อพักผ่อนทั้งกายและใจ

พิธีเททองหล่อพระหลวงพ่อโต(องค์จำลอง)ขนาดหน้าตัก 35นิ้ว เพื่อนำไปประดิษฐาน ณ วัดถ้ำกฤษณาธรรมาราม อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา(วัดสาขาสังฆทาน) พิธีนี้จัดขึ้น ณ วัดสังฆทาน จ.นนทบุรี

วัดสังฆทาน งานสมโภชพระบรมสารีริกธาตุ 2562

พระครูปลัดไพรินทร์ สิริวฑฺฒโน ร่วมงานพิธีสลายสรีระสังขาร พระคุณเจ้าหลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต

พิธีบำเพ็ญกุศลออกพระเมรุพระราชทานเพลิงศพ พระคุณเจ้าหลวงปู่บุญฤทธิ์ ปณฺฑิโต วันที่ ๑๙-๒๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ ณ วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี

ภาพข่าวทันวัดสังฆทาน...พระครูปลัดไพรินทร์ สิริวฑฺฒโน เจ้าอาวาสวัดสังฆทาน ร่วมงานพิธีบำเพ็ญกุศลปัญญาสมวาร(ครบ ๕๐ วัน) เเละนับเนื่องในดิถีวันชาตกาล ๑๐๑ ปี เพื่อน้อมอุทิศถวายเเด่ เจ้าประคุณ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวรมหาเถระ ป.ธ.๙) เวลา ๑๗.๐๐ น. วันศุกร์ที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๖๑

พิธีสมโภชพุทธาภิเษก พระพุทธรักษา 7 ธันวาคม 2561 ณ พระธาตุแช่แห้ง จังหวัดน่าน โดยมูลนิธิสมเด็จพระยุพราชปัว

หลวงพ่อสามารถ สมาธโก พระครูปลัดไพรินทร์ สิริวฑฺฒโน ร่วมฌาปนกิจ

ถ่ายทอดสด พิธีสมโภชพุทธาภิเษก พระพุทธรักษา 7 ธันวาคม 2561 ณ พระธาตุแช่แห้ง จังหวัดน่าน โดยมูลนิธิสมเด็จพระยุพราชปัว

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้